ฟอร์ดสนับสนุนนักศึกษาวิศวะฯ พีไอเอ็ม ส่งมอบ “วอร์ด Cowit 2020” นวัตกรรมและหุ่นยนต์ลดความเสี่ยง-สัมผัส ช่วยดูแลผู้ป่วยจากโควิด-19
กรุงเทพฯ ประเทศไทย30 กรกฎาคม 2563 – ฟอร์ด ประเทศไทยสนับสนุนนักศึกษาจากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ในภารกิจ “วอร์ด Cowit 2020” (Co-Creation Ward Innovation Technology 2020) “หุ่นยนต์และอุปกรณ์” ประกอบไปด้วย หุ่นยนต์ “น้อง C และ น้อง W”ตู้ฆ่าเชื้อด้วยแสง UVCประตูอัตโนมัติหน้าห้องผู้ป่วยเครื่องติดตามการให้สารละลายแก่ผู้ป่วยพร้อมกันนี้ทีมวิศวกรของโรงงานฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (ประเทศไทย) ยังได้นำพื้นฐานหุ่นยนต์ที่นักศึกษาจากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ประดิษฐ์ขึ้นมาพัฒนาเป็นหุ่นยนต์เพื่อส่งมอบให้โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ไว้ใช้ในการปฏิบัติภารกิจเพิ่มอีก 1 ตัว โดยมีนายแพทย์ เกรียงไกร ตั้งจิตรมณีศักดา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ เป็นผู้รับมอบ
“ฟอร์ดมีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการทำกิจกรรมเพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้แก่สังคมเสมอมา ฟอร์ดและทีมวิศวกรจากโรงงานฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (ประเทศไทย) มีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญของฟอร์ดมาให้การสนับสนุนนักศึกษาจากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ในการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อสนับสนุนการทำงานบุคลากรทางการแพทย์ในภารกิจ “วอร์ด Cowit 2020” เพื่อช่วยลดความเสี่ยงการสัมผัส และแบ่งเบาภารกิจในการดูแลผู้ป่วย ฟอร์ดเชื่อว่าสิ่งที่พนักงานได้ร่วมสนับสนุนในครั้งนี้ จะเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้แก่นักศึกษาในการพัฒนาโครงการดีๆ เพื่อสังคม รวมถึงเป็นกำลังใจให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในการปฏิบัติภารกิจดูแลผู้ป่วยในสมาร์ทวอร์ดที่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์” นายวิชิต ว่องวัฒนาการ กรรมการผู้จัดการ ฟอร์ด ประเทศไทยกล่าว
สำหรับ “หุ่นยนต์และอุปกรณ์” ในภารกิจ “วอร์ด Cowit 2020” ของนักศึกษาจากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม ประกอบไปด้วย
• หุ่นยนต์ที่ใช้ในการนำส่งอาหารและยาให้กับผู้ป่วยจำนวน 2 ตัว โดยตัวแรกคือ “น้อง C” ย่อมาจากคำว่า Collaborate หมายถึงการร่วมมือร่วมใจในการสร้างสรรค์ พัฒนา ระหว่างทีมแพทย์และอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ พีไอเอ็ม พร้อมด้วยผู้ร่วมสนับสนุนจากบริษัทต่างๆ มากมาย และตัวที่ 2 คือ “น้อง W” มาจากคำว่า Well หมายถึงความคาดหวังของทีมผู้มีส่วนร่วมทุกท่านประสงค์ให้ทุกอย่างกลับมาดีดังเดิม ทั้งสุขภาพของผู้ติดเชื้อ สถานการณ์โควิด-19 ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจทั่วโลก รูปแบบการทำงานของหุ่นยนต์ “น้อง C และ น้อง W” คือ เดินตามเส้นทางและใช้แผ่น RFID เป็นตัวช่วยในการตรวจสอบตำแหน่งของห้อง ซึ่งทำงานง่าย สะดวก เพียงกดปุ่มหมายเลขห้องที่ต้องการ จากนั้นหุ่นยนต์จะนำส่งอาหารและยาไปให้ในห้องผู้ป่วย โดยต่อ 1 รอบ สามารถทำได้สูงสุดถึง 6 ห้อง ซึ่งจะทำการประมวลผลอัตโนมัติในการเลือกเส้นทางห้องใกล้ที่สุดไปจนถึงห้องไกลที่สุด จากจุดปล่อยหุ่นยนต์ เมื่อเสร็จสิ้นแล้วหุ่นยนต์อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค ดังนั้นหุ่นยนต์จะต้องเดินไปยังตู้ฆ่าเชื้อ UVC โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้การอบฆ่าเชื้อจะใช้เวลาประมาณ 20 นาที เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเชื้อโรคได้ถูกกำจัดเป็นที่เรียบร้อย และพร้อมสำหรับการใช้งานต่อไป
• หุ่นยนต์ที่พัฒนาโดยทีมวิศวกรโรงงานฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (ประเทศไทย) โดยทีมวิศวกรได้นำพื้นฐานหุ่นยนต์ที่นักศึกษาจากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ประดิษฐ์ขึ้นมาพัฒนาเป็นหุ่นยนต์อีก 1 ตัว เป็นหุ่นยนต์ที่ได้รับความร่วมมือจากวิศวกรหลายแผนกของโรงงานฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด นำเทคโนโลยีรถขนส่งอัตโนมัติ (AGV – Automatic Guided Vehicle) ที่ซึ่งเป็นระบบที่ใช้อยู่ในโรงงานฟอร์ดมาพัฒนาต่อยอด โดยได้รับความร่วมมือจาก Ford Design Studio ที่ประเทศออสเตรเลียร่วมออกแบบ เพื่อส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ไว้ใช้ในการปฏิบัติภารกิจดูแลผู้ป่วย
• ตู้ฆ่าเชื้อด้วยแสง UVC ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคหลังจากที่ “น้อง C และ น้อง W” ส่งอาหารและยาให้แก่ผู้ป่วยเสร็จในแต่ละรอบ
• ประตูอัตโนมัติหน้าห้องผู้ป่วย แต่ละห้องติดตั้งเพื่อให้หุ่นยนต์สามารถเดินเข้าไปให้บริการผู้ป่วยได้ถึงเตียงโดยลดการสัมผัสประตู
• เครื่องติดตามการให้สารละลายแก่ผู้ป่วย (อยู่ระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตร) ใช้สำหรับเฝ้าติดตามการให้สารละลายแก่ผู้ป่วยว่าอยู่ในอัตราปกติหรือไม่ ผ่านโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันบนมือถือ
ผศ.เกรียงไกร ทัศนวิภาส อาจารย์ประจำ สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี พีไอเอ็ม หัวหน้าทีมผู้พัฒนา คิดค้น “วอร์ด Cowit 2020” กล่าวว่า “เรานำจุดเด่นของระบบของหุ่นยนต์เชื่อมเข้ากับเทคโนโลยีทางวิศวะเชิงเทคนิค สร้างโปรแกรมการใช้งานให้สะดวกต่อการทำงาน จับจุดเด่นของระบบ Part User Interface (UI) ให้ใช้งานง่ายโดยทีม Developer ของเราเป็นนักศึกษาด้าน Robotic Engineer ที่ทดลองปรับเปลี่ยนระบบ พัฒนาฟังก์ชันการทำงานไปกับบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นผู้ใช้งานจริง มีอุปกรณ์ การดูแลรักษาค่อนข้างง่าย ใช้งบประมาณการผลิตต่ำ ประสิทธิภาพการใช้งานสูง ซึ่งโครงการนี้เกิดขึ้นจากความร่วมแรงร่วมใจ เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ โดยคณะทีมงานประกอบด้วยทีมศัลยแพทย์โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์อาจารย์นักศึกษาสาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี พีไอเอ็ม จำนวน 9 คน รวมถึงบริษัทพาร์ทเนอร์ ที่เข้ามาช่วยสนับสนุน อาทิ บริษัท ออลล์ เวลเนส จํากัด บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (ประเทศไทย) จำกัดและ บริษัทเอ็ม.ที.คอนโทรล แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด ให้เกิดระบบอัจฉริยะนี้ขึ้น”
“ล่าสุดได้พัฒนาหุ่นยนต์นำส่งอาหารและยาถึงเตียงผู้ป่วยโดยอัตโนมัติ เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสในการติดเชื้อจากการสัมผัสกับประตู พร้อมด้วย เครื่องติดตามการให้สารละลายแก่ผู้ป่วย อยู่ระหว่างการจดสิทธิบัตร เพื่อสนับสนุนการทำงานบุคลากรทางการแพทย์ ลดการตรวจให้สารละลายตามรอบเวลา ซึ่งปกติพยาบาลจะต้องเข้าไปตรวจการให้สารละลายของผู้ป่วยเป็นรอบตามเวลาที่กำหนด เพื่อป้องกันการไหลที่อาจไม่ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งสามารถติดตามผ่านโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันได้จากสมาร์ทโฟน ในปัจจุบันเครื่องดังกล่าวมีราคาค่อนข้างสูง ทางทีมจึงคิดค้นเครื่องนี้ขึ้นมาในราคาถูกและได้ประสิทธิภาพ ถือได้ว่าตอบโจทย์ในการช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ที่ดีอีกทางหนึ่งในอนาคตอันใกล้นี้” ผศ.เกรียงไกรกล่าวเสริม
นพ.เกียรติศักดิ์ ทัศนวิภาส ศัลยแพทย์โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ผู้ทดลองใช้ “วอร์ด Cowit 2020” กล่าวว่า “โควิด-19 เป็นโรคใหม่ แพทย์จึงต้องประเมินสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา และหาวิธีป้องกันช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อในการสัมผัสกับผู้ป่วยซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อปรับตัวให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงานสูงสุด เราทำงานร่วมกับวิศวกรได้ทดลองและพัฒนาไปด้วยกัน “วอร์ด Cowit 2020”เข้ามาตอบโจทย์ส่วนนี้ จากการใช้งานจริงพบว่า โปรแกรมใช้งานง่าย ตัวหุ่นดีไซน์ให้มีตะขอเหมาะกับแพ็กเกจจิ้งอาหาร-ยา โดยระบบการทำงานทั้งหมดสั่งการผ่านแอปพลิเคชัน ตั้งแต่ต้นจนหุ่นยนต์ผ่านการฆ่าเชื้อเสร็จสิ้น จึงสะดวก ไม่ยุ่งยาก ลดความผิดพลาดของการดูแลผู้ป่วยสร้างความเชื่อมั่นกับผู้ใช้งาน ไม่เพิ่มขั้นตอนการทำงาน เพียงแค่ผู้ใช้งานเรียนรู้และควบคุมขั้นตอนการทำงานให้ถูกต้อง”
ปัจจุบันระบบจัดการหอพักผู้ป่วยอัจฉริยะ“วอร์ด Cowit 2020” ติดตั้งและได้ทดสอบภายในพื้นที่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สร้างความพึงพอใจและอำนวยความสะดวกให้กับแพทย์และบุคลากร ช่วยปฏิบัติงาน ดูแลผู้ป่วยระยะไกลลดความเสี่ยงในการใกล้ชิดและสัมผัส ถือเป็นก้าวแรกของความสำเร็จ ที่อาจารย์และทีมนักศึกษาสาขาวิศวะหุ่นยนต์ฯ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์(พีไอเอ็ม) ได้นำความรู้ความเชี่ยวชาญ ผนวกความร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระบุคลากรทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการดูแลผู้ป่วยในอนาคต เตรียมพร้อมการเผชิญหน้ากับสถานการณ์โควิด-19 และก้าวต่อไปจากนี้ ทีมผู้พัฒนาอยู่ระหว่างการพัฒนาชิ้นงานในเฟสถัดไปด้วยความมุ่งมั่นเพื่อสร้างเครื่องมือ นวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยเป็นส่วนหนึ่ง สนับสนุนวงการแพทย์ไทยต่อไป
ข่าวสารน่าสนใจ
ร ถ ย น ต์ / แ ว ด ว ง
-
ฟอร์ด เอเวอเรสต์ ใหม่ รุ่นไทเทเนี่ยม ราคาสุดพิเศษเพียง 1,254,000 บาท จากราคาปกติ 1,399,000 บาท และผ่...
-
กรุงเทพฯ. บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย สานต่อสำเร็จสู่ศักราชใหม่ด้วยยนตรกรรมระดับผู้บริหารในตำนานรุ่นล่...
-
กรุงเทพฯ ประเทศไทย, 19 มกราคม 2564 – เมื่อกลับเข้าสู่ฤดูกาลทำงานที่บ้านอีกครั้ง เชื่อว่าเจ้าของรถหลา...
-
กรุงเทพฯ ประเทศไทย, 11 มกราคม 2564 –ฟอร์ด ประเทศไทย ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตรและพันธมิตร เดิน...
-
กรุงเทพฯ, 5 มกราคม 2564 : “เบส ออโต้ เซลส์” คว้าตำแหน่งแชมป์ทักษะฝีมือช่างเทคนิค MG กวาด...
-
ตามที่ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) ได้สรุปสถิติยอดรวมอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาล...
-
กรุงเทพฯ ประเทศไทย,29 ธันวาคม2563 – เสียงเครื่องยนต์ V8 ที่ดังกระหึ่มออกมาจากรถฟอร์ด มัสแตง นั...
-
กรุงเทพฯ–ประเทศไทย28ธันวาคม2563:บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัดตอกย้ำความตั้งใจในการดูแลรถและลูกค้า ด...
-
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย, 25 ธันวาคม 2563 – อีกไม่กี่วันก็จะถึงเทศกาลวันหยุดปีใหม่ หลายคนอาจวาง...
-
ปฏิเสธไม่ได้ว่าโควิด-19 สร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวงแก่ภาคเศรษฐกิจทั่วทุกมุมโลก และยังทำให้รูปแบบการดำเ...
-
กรุงเทพฯ, 22 ธันวาคม 2563 – “เบนซ์ไพรม์มัส” ตอกย้ำความสำเร็จ ขึ้นแท่นอันดับ 3 ดีลเลอร์เบนซ์ กวาดยอดจ...
-
กรุงเทพฯ. บีเอ็มดับเบิลยู ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ประเทศไทย มอบรางวัลสุดพิเศษ บีเอ็มดับเบิลยู 320d M Spo...
-
กรุงเทพมหานคร 22 ธันวาคม 2563:ฟอร์ด ประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบแคมเปญ...
-
กรุงเทพฯ – 21 ธันวาคม2563:บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ให้ความสำคัญกับการส่งมอบ ประสบการณ์ท...
-
กรุงเทพฯ ประเทศไทย,21 ธันวาคม2563 – เพราะความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ฟอร์ดจึงให้คว...
-
นางแก้วใจ เผอิญโชค แมคโดนัลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทไทยวี.พี. คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในเครือ บริษ...
-
กรุงเทพฯ. บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ตอกย้ำความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในปี 2563 คว้ารางวัลจากหลายเ...
-
สแกนเนียยกระดับมาตรฐานงานบริการให้รถลูกค้าพร้อมใช้งานอยู่เสมอ ด้วยการขยายเวลาเปิดศูนย์บริการเป็น 08....
-
กรุงเทพฯ – ประเทศไทย 9 ธันวาคม2563: บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ตอกย้ำความเป็นผู้นำน้ำมันค...
-
กรุงเทพฯ - 7 ธันวาคม 2563 - McLaren 765LT ถือเป็นซุปเปอร์คาร์รุ่นล่าสุดจากประเทศอังกฤษ ที่มีน้ำหนักเ...
-
กรุงเทพฯ, 4 ธันวาคม 2563 – เบนซ์ไพรม์มัส มอบความสุขส่งท้ายปี จัดงาน StarFest 2020 : The Greate...
-
•ฟอร์ด จัดแสดงรถยนต์ทุกรุ่นทั้งไลน์อัพ นำโดย ฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ และฟอร์ด เอเวอเรสต์ ใหม่ ที่มา...
-
สแกนเนีย เริ่มแผนลงทุนสร้างศูนย์บริการสาขาสระบุรีใหม่ ขยายกำลังรองรับการขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต เ...
-
ระยอง ประเทศไทย, 27 พฤศจิกายน 2563–ผู้บริหารและพนักงานออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) หรือ เอเอที บริษั...