ครบเครื่องเรื่องรอบรู้เกี่ยวกับไทรอยด์
ต่อมไทรอยด์ ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย โดยจะอยู่บริเวณกลางลำคอใต้ลูกกระเดือก ทางด้านหน้าของลำคอ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็นต่อมที่อยู่ข้างขวาและข้างซ้ายและจะมีแนวเชื่อมกันตรงกลางบริเวณหน้าหลอดลม ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ช่วยในการควบคุมระบบการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย โดยร่างกายจะสามารถผลิตฮอร์โมนได้จากการสั่งงานจากสมอง ซึ่งสมองจะหลั่งฮอร์โมนมาควบคุมต่อมไทรอยด์ให้หลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ได้อย่างถูกต้อง รวมถึงร่างกายต้องมีสารตั้งต้นในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ คือ สารไอโอดีน ในปริมาณที่เพียงพอจึงจะทำงานได้ปกติ
ความผิดปกติที่สามารถเกิดได้ที่ต่อมไทรอยด์แบ่งเป็น 2 อย่างหลัก ๆ คือ ความผิดปกติที่ฮอร์โมน และความผิดปกติที่บริเวณโครงสร้าง เช่นการเกิดเนื้องอกขึ้นในต่อมไทรอยด์ ซึ่งความผิดปกติที่ฮอร์โมนอาจพบร่วมกับการเกิดเนื้องอกขึ้นในต่อมไทรอยด์ได้ โดยความผิดปกติที่ฮอร์โมนอาจจะเกิดจากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไปหรือภาวะไทรอยด์เป็นพิษ และการผลิตฮอร์โมนที่น้อยเกินไป ซึ่งอาจเกิดจากตัวต่อมไทรอยด์เองหรือส่วนของสมองที่ควบคุม การรักษาในกลุ่มนี้จะมีเป้าหมายเพื่อทำให้ฮอร์โมนไทรอยด์กลับมาปกติ โดยทั่วไปจะรักษาด้วยการให้ยา อาจจะมีผู้ป่วยบางรายที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการกลืนแร่ และการผ่าตัด
ส่วนความผิดปกติที่บริเวณโครงสร้างและการมีเนื้องอกขึ้นมาในต่อมไทรอยด์ ในอดีตนั้นเกิดจากประชาชนประสบปัญหาการขาดสารไอโอดีน จึงมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่มีปัญหาต่อมไทรอยด์โตที่นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า “โรคคอพอก” ซึ่งในกลุ่มนี้พอได้รับยารักษา ก้อนก็จะยุบลง แต่ในปัจจุบันการขาดสารไอโอดีนพบได้น้อยมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมาด้วยก้อนเนื้องอกในต่อมไทรอยด์ที่ไม่ค่อยตอบสนองกับการได้รับยา เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์จะได้รับการตรวจด้วยอัลตราซาวด์ และการเจาะตรวจเซลล์บริเวณเนื้องอกไปตรวจ เมื่อได้ผล แพทย์จะประเมินจากผลตรวจ และแจ้งแนวทางการรักษา ซึ่งการรักษาเนื้องอกในต่อมไทรอยด์ จะแบ่งเป็นการติดตามอาการที่ผิดปกติ ขนาดก้อน การเจาะตรวจเซลล์บริเวณเนื้องอก และการผ่าตัด
การผ่าตัดในต่อมไทรอยด์จะทำต่อเมื่อมีข้อบ่งชี้ คือ ก้อนที่มีขนาดโตจนมีการกดเบียดอวัยวะข้างเคียงเช่น หลอดอาหารและหลอดลม ทำให้เกิดอาการกลืนลำบากหรือหายใจเหนื่อย, ก้อนที่มีลักษณะที่สงสัยว่าจะเป็นกลุ่มมะเร็ง และก้อนที่ผู้ป่วยต้องการที่จะผ่าตัดเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ความสวยงาม เป็นต้น โดยการผ่าตัดจะมีความเสี่ยงที่สำคัญ แม้โอกาสเกิดขึ้นได้น้อย คือเสียงแหบจากการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงเส้นเสียง ซึ่งอยู่บริเวณใต้ต่อต่อมไทรอยด์ ทั้งนี้ผู้ป่วยควรสอบถามรายละเอียดความเสี่ยงต่าง ๆ จากการผ่าตัดกับแพทย์ที่เป็นผู้ผ่าตัดเป็นรายบุคคล
การผ่าตัดโดยทั่วไปสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดแบบเปิด โดยผู้ป่วยจะมีแผลบริเวณตรงกลางคอประมาณ 2 ถึง 4 นิ้ว และการผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งมีทางเข้าบริเวณอื่นทำให้ไม่เกิดแผลเป็นที่คอ ทั้งนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องสอบถามรายละเอียดเป็นรายบุคคลกับแพทย์ที่ทำการผ่าตัด
ในปัจจุบัน จะพบผู้ป่วยที่ตรวจพบเนื้องอกในต่อมไทรอยด์ที่มีขนาดโต ประเภทที่ตรวจพิสูจน์แล้วว่าไม่พบลักษณะมะเร็ง ทั้งจากการตรวจอัลตราซาวด์และการเจาะตรวจเซลล์บริเวณเนื้องอก ซึ่งในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีทางเลือกในการรักษาทางใหม่ นอกจากการผ่าตัด คือการใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์ความเข้มข้นสูง (High Intensity Focus Ultrasound: HIFU) ส่งคลื่นความร้อนผ่านบริเวณผิวหนังเข้าไปทำให้ก้อนบริเวณเนื้องอกเกิดการยุบตัว ลดขนาดของเนื้องอกลงได้ ประมาณ 20 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์
อย่างไรก็ตาม อาจมีรายละเอียดอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้น ผู้ป่วยจึงควรสอบถามข้อมูลอีกครั้งกับแพทย์ผู้ทำการรักษา ทั้งนี้ในวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 -12.00 น. ณ ชั้น 1 แกรนด์ฮอล์ โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี จะมีการจัดงานเสวนาเรื่อง“ครบเครื่องเรื่องรอบรู้เกี่ยวกับไทรอยด์” พร้อมเปิดตัวทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและแนะนำบริการใหม่ของศูนย์รักษาไทรอยด์สมัยใหม่ ประกอบด้วย อ.นพ.บุญสาม รุ่งภูวภัทร และ อ.นพ.พนัส บิณศิรวานิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และ นพ.ชาญสิริ เสกสรรค์วิริยะ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี ซึ่งเป็นความร่วมมือครั้งแรกระหว่างโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน ในด้านพัฒนาและส่งเสริมความรู้ความร่วมมือทางการแพทย์ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมงาน พร้อมกับการตรวจคัดกรองไทรอยด์พร้อมรับของที่ระลึก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ สนใจเข้าร่วมงาน ลงทะเบียนได้ที่ โทรศัพท์ 02-438-9000 หรือ กรอกข้อมูลเข้าร่วมงาน ที่ https://forms.gle/Jc3d4XnfGxigtXgz8(รับจำนวนจำกัด) หรือหากไม่สะดวกมาร่วมงาน รับชมการถ่ายทอดสดผ่าน เฟซบุ๊กที่ www.facebook.com/SamitivejThonburiHospital
ข่าวสารน่าสนใจ
สุ ข ภ า พ
-
เครือข่ายลดบริโภคเค็ม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย เผย...
-
-
สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยหรือDSTตระหนักที่จะทำหน้าที่เพื่อตอบแทนสังคมและเผยแพร่และทำการรักษาและ...
-
กรุงเทพฯ – ประเทศไทย – 12 มกราคม 2563 – บริษัทอินโดรามาเวนเจอร์สจำกัด (มหาชน) หรือ...
-
เดินหน้าแคมเปญ #YourHealthIsPriceless เฟสสอง สร้างความตระหนักรู้แก่ผู้บริโภคถึงอันตรายของเครื่องสำอา...
-
สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยตระหนักถึงความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ ที่เราทุกคนมีส่วนช่วยสกัดกั้นการแพร่ระ...
-
แม็คโคร ส่งต่อกำลังใจให้ชาวเมียนมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด นางสาวสุภานันท์ จันลาเศษ ผู้จัดการทั่วไป แม็...
-
งานนี้ต้องไม่พลาดกันเลยล่ะค่ะ สำหรับ SEOULMADE x StyleHAN (โซลเมด x สไตล์ฮัน) ที่ได้จัดงาน ‘MERRY SE...
-
บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หนุนมาตรการป้องกันโควิด-19 เชิงรุก บูรณาการภาครัฐ กรมอนามัยและ อย. ...
-
รพ.สมิติเวช ธนบุรี จัดเสวนา“ครบเครื่องเรื่องรอบรู้เกี่ยวกับไทรอยด์” พร้อมเปิดศูนย์ผ่าตัด...
-
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์เปิดงานเสวนาให้ความรู้ประชาชนเรื่อง “เทคโนโลยีในการผ่าตัดหัวใจและท...
-
เมื่อเร็ว ๆ นี้ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับแพทยสภาและกลุ่มศึกษาอบรมหลักสูตรประกาศนียบั...
-
สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยหรือ DST ตระหนักที่จะทำหน้าที่เพื่อตอบแทนสังคมและเผยแพร่และทำการรักษาแ...
-
อ.นพ.บุญสาม รุ่งภูวภัทร และ อ.นพ.พนัสบิณศิรวานิชแพทย์ผู้เชี่ยวชาญภาควิชาโสต ศอนาสิกวิทยา คณะแพทยศาสต...
-
โรคน้ำกัดเท้า โรคน้ำกัดเล็บ รศ. พญ. จรัสศรี ฬียาพรรณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศ...
-
กรุงเทพฯ 30 พฤศจิกายน 2563 - บริษัท เอสซีลอร์ ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำระดับโลกด้านการออ...
-
บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ ไอวีแอล บริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก นำโดย นายยาช โลเ...
-
30 พฤศจิกายน 2563 ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย : พลอากาศโท นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทย...
-
สมาคมนักออกแบบตกแต่งคิ้ว ประเทศไทย (PMAT) จับมือกับ วิทยาลัยสารพัดช่าง สมุทรปราการ สร้างมิติใหม่ของก...
-
“ทีมชุมชนบ้านบน จ.ระยอง” คว้าแชมป์ฟุตบอลประเพณีมาบตาพุด ครั้งที่ 39 ถ้วยรางวัลชนะเลิศพระราชทาน สมเด็...
-
ภาวะผมร่วงฉับพลันชนิดทีโลเจนTelogen Effluvium (TE) โดยรศ.ดร.พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด...
-
สะท้อนแนวคิดรวมพลังคนไทยต้านมะเร็ง นำรายได้ช่วยผู้ป่วยโรคมะเร็งยากไร้ รพ.รามาธิบดี บราเดอร์ ยังเดิน...
-
14 พฤศจิกายน ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็นวันเบาหวานโลก ซึ่งในปี พ.ศ. 2563 นี้ สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (I...
-
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินหน้าพัฒนาโครงการ Sensor for All ปีที่ 3 ภายใต้ความร่...